วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

ศึกษาวิธีการกระตุ้นสารวิธีต่างๆก่อนตัดสินใจ ป้องกันกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวง

การกระตุ้นสารมีหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีเทคนิควิธีการที่แตกต่างกันไป ซึ่งต้องศึกษาหาข้อมูลก่อน
เพราะมีกลุ่มคนที่หลอกลวงเกษตรกรรับจ้างเจาะกระตุ้นสาร ในราคาแพงมากแถมยังไม่ได้ผลตามที่ต้องการเกษตรกรต้องเสียทั้งเงินและเวลา  

การกระตุ้นสารต้นไม้กฤษณาโดยใช้แท่งไม้ไผ่แช่น้ำยา


ในการเจาะลำต้น ควรเลือกต้นที่มีสภาพสมบูรณ์แข็งแรง อายุ 4-5 ปี ขึ้นไป การเจาะจะต้องใช้ดอกสว่านขนาด 
5-6 มม. ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมและได้ผลดีที่สุด และต้องไม่เจาะในแนวดิ่งลง แต่ควรเจาะแบบขนานเนื้อไม้ เพื่อหลีกเลี่ยงการผุเสียหายในเนื้อไม้ได้ดี วิธีการกระตุ้นแบบนี้จะได้ผลตรงที่ไม้ใผ่แช่น้ำยาสำหรับสารกระตุ้นประเภทสารประกอบอินทรีย์เสียบเข้าไปในรูที่เจาะ


ซึ่งวิธีการเจาะแบบเก่าจะเจาะแบบเป็นผืนบนลำต้น ซึ่งเทคนิคสารกระตุ้นจะแตกต่างกันไป ดังนั้นเกษตรกรต้องศึกษาก่อนว่าควรจะใช้วิธีใด เพื่อไม่ให้กลุ่มมิจฉาชีพ หลอกลวง เพราะนั่นจะทำให้เกษตรกรเสียทั้งเงินทั้งเวลา
น้ำหนักแท่งไม้ใผ่ต่อชิ้นต่ออัน จะหนักประมาณ 20-30 กรัมต่อ ไม้ไผ่ 1 แท่ง ต่อรูเจาะ หลังจากใส่ไม้ไผ่ไปแล้วเราจะบ่มเอาไว้ 2 ปี เราจะได้น้ำหนักของผลผลิตที่ได้จะค่อนข้างดี เพราะการกระตุ้นวิธีนี้เกิดการผุน้อยมากและทำให้ได้สารกฤษณาในปริมาณที่สูงแก่นเกือบเต็มแท่ง ที่สำคัญ หากสามารถทิ้งเอาไว้ได้นานกว่า 2 ปี ก็จะยิ่งมีคุณภาพมากขึ้นเข้าเกรดซุปเปอร์จมน้ำ ได้ราคาสูงขึ้นเป็นเท่าตัว คุ้มค่ากับการรอคอย
                                                                                    

วิธีการกระตุ้นด้วยวิธีนี้ทำให้เกษตรกรสามารถคำนวณรายได้จากการทำไม้กฤษณาได้ง่าย เพราะสามารถทราบน้ำหนักหรือปริมาณเฉลี่ยของไม้กฤษณาที่ได้ต่อต้น โดยคำนวณได้จากจำนวนรูเจาะ คูณเข้าไปด้วยราคาต่อกิโลกรัม สุดท้ายแล้วเอาไปลบกับต้นทุนก็จะรู้ถึงกำไรหรือขาดทุนสุทธิจากการทำไม้กฤษณา จะได้ไม่ต้องคอยกล่าวหาว่าใครหลอกอีกต่อไป 


เช่นต้นไม้อายุประมาณ 8-10 ปี หากเจาะด้วยดอกสว่านขนาด 6 มม. แล้วตอกแท่งไม้ไผ่แช่สารกระตุ้น ระยะเจาะจะอยู่ที่ประมาณ 15 ซม. โดยเฉลี่ย ทำให้สามารถเจาะได้ประมาณ 350 - 400 รูเจาะต่อต้น ซึ่งไม่ถือว่ามากจนเกินไป เพราะไม่ใช่การฉีดสารเข้าไปโดยตรง 

ผลผลิตต่อรูที่ได้หลังจากทิ้งไว้ 2 ปีประมาณ 30 กรัม และหากสมมุติว่าราคากิโลกรัมละ 10,000 บาท จะสามารถคำนวณรายรับได้ดังนี้

a = ราคาต่อกิโลกรัม

b = น้ำหนักของไม้ที่ได้ต่อ 1 รูเจาะ

c = จำนวนรูเจาะ


น้ำหนักเฉลี่ยต่อต้นที่จะได้รับ คือ b x c = 0.03 x 350 = 10.5 กิโลกรัม

a x b x c = ?

10,000 x 0.03 x 350 = 105,000 บาท ต่อต้น (ยังไม่หักค่าใช้จ่ายต่างๆเช่นการแปรรูป)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น