วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

'กฤษณา' ราชาเครื่องหอม สมุนไพร "ของที่มีค่าหายาก ราคาแพงดั่งทองคำ"


'กฤษณา' ราชาเครื่องหอม สมุนไพร

ดูแลสุขภาพ : 'กฤษณา' ราชาเครื่องหอม สมุนไพร

 
                          ไม้กฤษณา ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aquilaria crassna Pierre ex Lec.  ชื่อวงศ์  THYMELAEACEA เป็นไม้ที่มีตำนานกล่าวขวัญกันมาช้านาน ทั้งในฐานะ "ของที่มีค่าหายาก" เป็นที่ต้องการของสังคมชั้นสูงทั่วโลก และ "ราคาแพงดั่งทองคำ" ดังนั้น ไม้กฤษณาจึงเป็นสินค้าต้องห้ามสำหรับประชาชนทั่วไปเพราะมีกฎหมายให้ค้าขายได้เฉพาะพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่โบราณ นับตั้งแต่ต้นกรุงศรีอยุธยา สยามส่งไม้กฤษณาทั้งที่เป็นเครื่องราชบรรณาการและเป็นสินค้าไปเมืองจีนมาตั้งแต่กรุงสุโขทัย และเป็นที่ต้องการของราชสำนักจีนมาก ซึ่งนอกจากจีนและญี่ปุ่นแล้ว เรือสำเภาที่มาค้าขายจากฝั่งตะวันตกก็ยังได้นำเอาสรรพคุณของกฤษณาทั้งด้านความหอมและสรรพคุณทางสมุนไพร ลือไปไกลถึงคาบสมุทรอาหรับในตะวันออกกลางและยังไปถึงอาณาจักรกรีก โรมัน อียิปต์โบราณ ยุคนั้นไม้กฤษณาที่เป็นสินค้าที่มีราคาแพงมาก และผลิตผลจากต้นกฤษณาก็มีเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น ดังนั้นไม้กฤษณาจึงเป็นสัญลักษณ์ของสุวรรณภูมิหรือประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าขายกฤษณามานาน
 
                          ไม้กฤษณาชนิดที่ดีที่สุดในโลกนั้น พบหลักฐานในสมัยอยุธยา ในจดหมายของบริษัทอินเดียตะวันออก พ.ศ. 2222 ระบุว่า คือไม้หอมกฤษณาจากบ้านนา ซึ่งปัจจุบันอยู่ในจังหวัดนครนายก หรือแต่เดิมก็คือป่าแถบดงพญาไฟเทือกเขาใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตไม้หอมเพื่อการส่งออกมาแต่อดีต ไม้กฤษณา หรือไม้หอมบนเขาใหญ่ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยและยังมีการเก็บหามาถึงปัจจุบัน เพราะเป็นที่ต้องการกลิ่นดั้งเดิมที่คุ้นชิน แม้ว่าจะมีสวนป่ากฤษณาปลูกขึ้นมากมายแต่คุณภาพไม่ดีเท่าจากป่าธรรมชาติ การลักลอบทำผิดกฎหมายจึงยังมีอยู่ คดีการจับไม้กฤษณาบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ของทั้งทางจังหวัดนครนายกและจังหวัดปราจีนบุรีจึงยังมีอย่างต่อเนื่อง
 
                          คนไทยรู้จักใช้ไม้กฤษณามานาน ดังที่ปรากฏในตำรายาพระโอสถสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.2202 กล่าวถึงตำรายาที่เข้ากับกฤษณาหลายชนิด เช่น 
 
                          "มโหสถธิจันทน์นั้นเอาสมุลแว้ง ดอกมะลิ สารภี พิกุล บุนนาค เกสรบัวหลวง เกสรสัตบงกช จันทน์ทั้ง 2 กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก แฝกหอม ตะนาว เปราะหอม โกฐหัวบัว เสมอภาค น้ำดอกไม้เป็นกระสาย บดทำแท่งละลายน้ำซาวข้าว น้ำดอกไม้ ก็ได้ รำหัดพิมเสนชโลม ถ้ากินแรกขัณฑสกรลงด้วย แก้พิษไข้สันนิบาต อาการตัวร้อนหนัก สรรพไข้ทั้งปวงหายสิ้นแลฯ" เป็นต้น
 
     
                 
  โดยตำรายาไทยยังระบุอีกว่า กฤษณารสขมหอม สุขุม คุมธาตุ บำรุงโลหิตในหัวใจ (อาการหน้าเขียว) บำรุงหัวใจ บำรุงตับปอดให้เป็นปกติ แก้ลมวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด แก้ลมซาง แก้ไข้ อาเจียน ท้องร่วง บำบัดโรคปวดตามข้อ ตำรับยาที่เข้ากฤษณามีหลายชนิด โดยเฉพาะในตำรับยาหอม ยากฤษณากลั่นตรากิเลน สรรพคุณส่วนใหญ่ใช้บำบัดอาการปวดท้อง ท้องเสีย จุกเสียด แน่น แก้ลม วิงเวียน หน้ามืดตาลาย คลื่นเหียน อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ ขับลมในกระเพาะลำไส้ บำบัดโรคปวดท้อง 
 
                          ในตำรายาไทยถือว่ากฤษณาเป็นราชาของเครื่องหอมไทย หมอพื้นบ้านใช้ปรุงเป็นยาหอมแก้ลมหน้ามืดวิงเวียน ผสมในเครื่องหอมทุกชนิด ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม เช่น ธูปหอม น้ำอบไทย ใช้สุมศีรษะแก้ลมทรางสำหรับเด็ก รับประทานให้ชุ่มชื่นหัวใจ น้ำมันกฤษณามีคุณสมบัติที่ทำให้กลิ่นหอมติดทนนาน ทำให้กลิ่นหอมต่างๆ มีความหวานละมุนละม่อมขึ้น จึงนิยมใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอมที่มีราคาแพง  ในแถบตะวันออกกลาง และบางประเทศในทวีปยุโรป นิยมนำเอาแก่นกฤษณา มาเผาในเตาขนาดย่อม ที่ออกแบบสวยงามเป็นพิเศษ สำหรับการเผาไม้กฤษณาโดยเฉพาะเพื่อให้ควันและกลิ่นหอมของกฤษณาติดผิวหนัง หรือสูดดมควันเพื่อเป็นยารักษาโรคหัวใจ และกลิ่นนั้นสามารถป้องกันแมลงหรือไรทะเลทรายที่จะมากัดจนเกิดแผลพุพองได้ ชาวมุสลิมที่มีฐานะดี นิยมปรุงแต่งผิวกายด้วยน้ำหอมจากไม้กฤษณาให้หอมติดทน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร รวมถึงยังมีการใช้ไม้กฤษณาต้อนรับแขกผู้มาเยือน ซึ่งถือว่าเป็นการให้เกียรติแขกอย่างสูง อันเป็นวัฒนธรรมของชนชาวมุสลิมแถบตะวันออกกลาง
 
                          ในปัจจุบันกฤษณายังเป็นสมุนไพรที่ราคาแพงที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง มีการประชุมนานาชาติที่เกี่ยวกับกฤษณาโดยเฉพาะ มีการศึกษาวิจัยวิธีที่จะทำให้เกิดเรซินของกฤษณา ผู้ที่สนใจกฤษณาไม้หอมมากสรรพคุณ ซึ่งเป็นสมุนไพรประจำถิ่นของจังหวัดในภาคกลาง อย่าง นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด และ อีกหลายพื้นที่ในประเทศไทย
 
ขอขอบคุณข้อมูล :http://www.komchadluek.net/โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
 

 
 

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การปลูกไม้กฤษณา และ ขั้นตอนการดูแลบำรุงต้น ก่อนการทำกระตุ้นสาร

การปลูกไม้กฤษณา และ ขั้นตอนการดูแลบำรุงต้น ก่อนการทำกระตุ้นสาร

การปลูกไม้กฤษณา ไม้กฤษณาเป็นไม้ในป่าเมืองร้อนที่ปลูกง่าย ปลูกได้ในดิน หลายชนิด ทั้งดินเหนียว ดินร่วน และดินร่วนปนทราย ฯลฯ และปลูกได้ทุกภาค ของประเทศไทย มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว และสม่ำเสมอ จึงมีอายุยืนยาว หลายสิบปี เนื่องมาจากพันธ์กฤษณาได้มาจากการเพาะเมล็ด จึงมีระบบรากแก้ว ลึกลงไปในแนวดิ่ง มีรากแขนงและรากฝอยหาอาหารในระดับผิดดินดี พันธ์ไม้กฤษณาที่ปลูกควรมีความสูง 50 - 80 เซนติเมตรขึ้นไปหรือมีอายุอย่าง น้อย 8 เดือน ถึง 1 ปี 


ระยะการปลูกแบ่งตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

ระยะปลูก 2 เมตร x 2 เมตร จะได้ต้นไม้หอม จำนวน 400 ต้น/ไร่

ระยะปลูก 2 เมตร x 4 เมตร จะได้จำนวน 200 ต้น/ไร่ เพื่อป้องกันแดด และดูดซับน้ำระหว่างแถวควรปลูกกล้วย ในระหว่างที่รอผลผลิตจากไม้หอมสามารถขายกล้วยเป็นเงินหมุนเวียนได้

ระยะปลูก 4 เมตร x 4 เมตร จะได้จำนวน 100 ต้น/ไร่ เหมาะสำหรับผู้ปลูกที่มีการปลูกไม้ล้มลุก หรือพืชผักได้ เพื่อให้มีรายได้เพิ่มระหว่างรอผลผลิตไม้หอมระยะปลูก เป็นพืชแซมกับสวนผลไม้หรือสวนไม้เศรษฐกิจอื่นๆ ต้องตามสภาพความเหมาะสม ความสะดวกในการดูแลรักษา

การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่ง ไม้กฤษณาส่วนมากจะแตกยอดออกเป็น 2 กิ่ง ควรตัดกิ่งที่มีใบใต้กิ่งออก จากนั้น ไม้กฤษณาจะมีกิ่งแขนงออกมาตามลำต้น ควรเก็บไว้เพื่อให้ไม้กฤษณา จะมีการสังเคราะห์แสงและปรุงอาหารหล่อเลี้ยงลำต้นได้ดีและจะมีลำต้นอ้วนใหญ่สมบูรณ์หลังจากลำต้นสูงใหญ่แล้วก็ค่อยๆ ตัดออกให้สมส่วนกับลำต้น แต่ถ้าไม่มีการตัดกิ่งจะทำให้ลำต้นเตี้ย กิ่งมาก โค่นล้มง่าย และการกระตุ้นสารไม่ดี

การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ย ในพื้นที่ที่ไม่อุดมสมบูรณ์ ควรใส่มูลวัว มูลควาย ในช่วงกล้าไม้อายุตั้งแต่ 1-3 ปี ในอัตราส่วน 1-3 ก.ก./ต้น/เดือน หลังจาก 3 ปีแล้ว ก็ใส่ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 5 ก.ก./ต้น ควรใส่ในฤดูฝน เมื่อไม้หอมมีอายุ 3 ปีแล้ว ส่วนใหญ่ในพื้นที่ ที่อุดมสมบูรณ์ก็แทบจะไม่ต้องใส่ปุ๋ยเลย


การกำจัดวัชพืชต่างๆ

การกำจัดวัชพืชต่างๆ ที่อยู่ใกล้โคนไม้หอมโดยการตัด หรือถางออก หรือใช้ผ้ายางขนาด 1 ม. X 1 ม. คลุมบริเวณโคนต้นแล้วสังเกตว่าวัชพืชเริ่มตายแล้วก็เอาผ้ายางออก เพราะถ้าคลุมไว้นาน จะเกิดเชื้อราโคนเน่าได้ แต่ไม่ควรใช้ยากำจัดวัชพืชโดยเฉพาะที่เป็นยาดูดซึม เช่น ไกลโฟเซต หรือยาคุมต่างๆ ส่วนศัตรูพืชที่สำคัญของไม้หอมในระยะ 1-3 ปี ได้แก่หนอนกินใบ หรือแมลงกินใบ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเกิดจากผีเสื้อมาไข่ไว้บริเวณใบยอดของลำต้น ถ้าสังเกตจะมีใยสีขาวอยู่บริเวณใต้ใบเมื่อตัวอ่อนฟักตัวออกมาก็จะกินใบอ่อนของไม้หอมแทบหมดต้นทำให้ต้นไม้หอมชะงักการเจริญเติบโต มีวิธีป้องกันได้โดยหมั่นสังเกต และตรวจดูว่ามีใยสีขาว หรือมีแมลงรบกวนก็ควรฉีดยาจำพวกเซปวิน 85 หรือยาพวกถูกตัวแมลงหรือหนอนแล้วตาย แต่ถ้าไม้หอมมีอายุตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไปส่วนใบไม้หอมขมมาก บางแห่งจะมีแมลงมาเจาะลำต้นในขณะที่ไม้หอมยังเล็กอยู่ (อายุ 1 - 2 ปี) ซึ่งไม้หอมยังไม่พร้อมให้แมลงเจาะเพราะจะทำให้ลำต้นหักโค่น หรือตายได้จึงสมควรกำจัดแมลงในช่วงนี้ด้วย แต่เมื่อไม้หอมอายุ 3 ปีขึ้นไป ถ้ามีแมลงเจาะลำต้น ซึ่งสังเกตได้จากมีขี้ขุยไม้กลมๆ สีขาวหล่นมาบริเวณโคนต้นคล้ายๆ เม็ดปุ๋ย นั่นแสดงว่าแมลงเริ่มทำงาน หรือเริ่มเจาะไม้หอมซึ่งจะทำให้เกิดน้ำมัน หรือสารกฤษณาขึ้นมาภายหลัง ฉะนั้นห้ามทำลายแมลงช่วงนี้โดยเด็ดขาด ส่วนศัตรูที่สำคัญของไม้หอมในช่วงเล็กๆ คือ พวกเชื้อราที่ทำให้เกิดโคนเน่า ราใบติด หรือเชื้อราลำต้น ซึ่งเมื่อไม้หอมแยกไปปลูกแล้ว จะเกิดเชื้อราน้อยมาก ยกเว้นพื้นที่แฉะ และน้ำท่วมขัง ป้องกันโดยทำร่องระบายน้ำไม่ให้น้ำท่วมขัง แต่เมื่อไม้หอมอายุ 3 ปี ไปแล้วก็ไม่ต้องใช้ยา

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการกระตุ้นต้นกฤษณาให้ผลิตสารเรซินในเนื้อไม้




เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยจากการกลั่นไม้กฤษณา เป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากความต้องการของเหล่าบรรดามหาเศรษฐีในกลุ่มประเทศอาหรับ ทำให้เกษตรกรผู้ผลิตแก่นกฤษณา
ต้องเพิ่มเทคนิควิธีการเพื่อให้ได้แก่นที่มีคุณภาพในระยะเวลาที่สั้นกว่าเดิม  วิธีการนี้ก็คือ การกระตุ้นต้นกฤษณาให้ผลิตสารเรซินในเนื้อไม้  ซึ่งสามารถเริ่มกระตุ้นได้ตั้งแต่อายุ 3 ปีครึ่ง เป็นต้นไป

การกระตุ้นให้เกิดสารเรซินในเนื้อไม้กฤษณานี้ เกษตรกรจะได้ผลผลิตภายในระยะเวลา 2 เดือนครึ่งเก็บผลผลิตมาแปรรูปได้หลากหลาย ซึ่งมีสารหอม80%ในเนื้อไม้ที่ติดเรชิน ที่สุดของนวัตกรรมคนไทย
ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้เร็วขึ้น

The smallest agarwood, 3 years of age, can be stimulated to produce more resin inside woodpiece and can be harvested within 2 months and a half. The harvested crops have 80% aroma and can be transform into many products to sell, the best of Thai innovation.

ขอขอบคุณข้อมูล : FB Agarwood Pheeraphan Thailand