วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ชื่อไม้กฤษณาที่ใช้เรียกกันในที่ต่างๆ ของไทยและต่างประเทศ

ชื่อไม้กฤษณาที่ใช้เรียกกันในที่ต่างๆ ของไทยและต่างประเทศ


      สำหรับชื่อไม้กฤษณาที่เรียกกันในที่ต่างๆ  ของประเทศไทยและในต่างประเทศ  คือ
ชื่อสามัญภาษาไทย  เรียกว่า  กฤษณา
ชื่อในภาคตะวันออกและภาคใต้  เรียกว่า  ไม้หอม  ไม้พวงมะพร้าว
ชื่อทางแถบปัตตานี  ยะลา  นราธิวาส  ลงไปถึงประเทศมาเลเซีย  เป็นภาษายาวี  เรียกว่า  กายูการู  กายูกาฮู  หรือ  กายูดือปู
ชื่อภาษาบาลี            เรียกว่า    อครุ  และดคร
ชื่อภาษาจีน              เรียกว่า    ติ่มเฮียง  หมายความว่า  ไม้หอมที่จมน้ำ
ชื่อภาษาอังกฤษ        เรียกว่า    - อีเกิ้ลวูด  เขียนว่า  Eagle  Wood
- ลิกนั่มอะโลส์  เขียนว่า  Lignum  Aloes
- อะการ์วูด  เขียนว่า  Agar  Wood
- คาร์ลัมบัก หรือ กะลัมพัก  เขียนว่า  Calambac
ส่วนชื่อของไม้กฤษณาของประเทศอื่น  มีดังต่อไปนี้
ชื่อภาษาญี่ปุ่น    เรียกว่า   Jin-Koh  Kya-ra
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย และมาเลเซีย    เรียกว่า   Gaharu
ชื่อภาษาอินเดีย                     เรียกว่า   Agar
ชื่อในแคว้นเบงกอล               เรียกว่า   Agara
ชื่อในแคว้นอัสสัม                  เรียกว่า   Sasi
ชื่อในประเทศเกาหลี              เรียกว่า   Chin  Hyuagy
ชื่อในประเทศฝรั่งเศส             เรียกว่า   Boisd’ aigle


วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ไม้กฤษณา Agarwood

      ไม้กฤษณาเป็น ไม้ที่มีคุณค่าสูงตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  และมีหลักฐานการใช้ประโยชน์ไม้กฤษณามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล  จึงทำให้มีความเชื่อว่าไม้กฤษณาเป็นไม้มงคล  สามารถใช้ป้องกันภูตผีปีศาจไม่ให้กล้ำกรายได้  สำหรับผู้เดินทางไปหาของป่า  ถ้าไปนอนค้างใต้ต้นกฤษณาจะปลอดภัยไม่มี
สิงสาราสัตว์มารบกวน  บางคนจึงนำไปปลูกไว้ในบ้านหรือสวนเพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่อป้องกันผีสางนาง ไม้เข้ามาในบ้าน  อีกทั้งยังนำไม้กฤษณาไปทำธูปบูชาพระ  และทำพิธีต่างๆ ในศาสนา  รวมทั้งใช้เป็นยาสมุนไพรใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย
ตามประวัติศาสตร์ไทยได้มีข้อมูลเกี่ยวกับไม้กฤษณาว่าเป็นไม้พื้นเมืองที่ เก่าแก่ของไทย  ตั้งแต่สมัยสุโขทัยที่ปรากฏในหนังสือไตรภูมิพระร่วง  ต่อมาในสมัยอยุธยาก็พบว่าไม้กฤษณาเป็นไม้เศรษฐกิจที่สำคัญและมีคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์ของไทย  เพราะเป็นที่ต้องการของนานาประเทศ  ปรากฏว่าในสมัยสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1  (พ.ศ.1930)  ได้มีการส่งไม้กฤษณาเป็นเครื่องบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงจีน  เช่นเดียวกับสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ  (พ.ศ.2101)  สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  (พ.ศ.2135)  สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2208)  และสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ(พ.ศ.2272)  ส่วนการส่งไม้กฤษณาเป็นเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงญี่ปุ่น  ปรากฏในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม  (พ.ศ.2166)  และสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราช(พ.ศ.2172)  อีกทั้งได้ส่งไม้กฤษณาเป็นเครื่องราชบรรณาการถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส  ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.2229)
       ในสมัยอยุธยา  นอกจากมีการส่งไม้กฤษณาเป็นเครื่องบรรณาการแล้ว  ยังถือว่าเป็นสินค้าที่ส่งออกที่ขึ้นชื่อของไทย  สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  (พ.ศ.2177)  พ่อค้าชาวฮอลันดาได้นำไม้กฤษณาจำนวน 100 หาบ  ไปค้าขายยังประเทศญี่ปุ่น  ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  (พ.ศ.2209)  ชาวฮอลันดาได้บีบบังคับให้สยามจัดไม้กฤษณาให้จำนวน 30,000 หาบทุกปี  และขอผูกขาดการค้าในปี  พ.ศ.2218  รวมทั้งขอผูกขาดให้มีการส่งไม้กฤษณาปีละ 1,000 หาบ  ไปยังเมืองสุรัต  ประเทศอินเดีย
         ตามหลักฐานจากบันทึกในจดหมายของบริษัทอินเดียตะวันออกระบุว่า  ไม้กฤษณาของสยามมีคุณภาพดีที่สุดในโลกโดยเฉพาะไม้หอมที่มาจากบ้านนา  (Agillah Bannah)  ซึ่งเป็นพื้นที่ของจังหวัดนครนายก  ในปี พ.ศ.2222  สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ผูกขาดการค้าขายไม้กฤษณาโดยมีข้อกำหนดว่า  การซื้อขายไม้กฤษณาจะต้องผ่านมือของหลวงเท่านั้น  กฤษณาจึงกลายเป็นสินค้าผูกขาดที่สร้างรายได้จำนวนมหาศาลให้แก่ชาติไทยมา อย่างยาวนาน  จนกระทั่งมายกเลิกระเบียบดังกล่าวในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
จากประวัติความเป็นมาของไม้กฤษณาของไทย  จะเห็นได้ว่าประเทศไทยในอดีตได้มีไม้กฤษณาขึ้นอยู่จำนวนมาก  ซึ่งสามารถตัดไม้กฤษณาเป็นเครื่องบรรณาการและเป็นสินค้าส่งออกที่มีคุณภาพ  (ไม้กฤษณาที่มีสารหอมแล้ว)  แต่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกไม้กฤษณาหรือการทำสารกฤษณา  แสดงว่าไม้กฤษณาดังกล่าวเป็นไม้กฤษณาที่ขึ้นอยู่ในธรรมชาติทั้งสิ้น
          การที่ไม้กฤษณาเป็นที่ต้องการของมนุษย์หลายชาติหลายภาษาก็เพราะเป็นพืชที่มี ประโยชน์มากทางด้านสมุนไพร  มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในตำราจีน  กฤษณาใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ  แก้ลมวิงเวียน  คลื่นไส้อาเจียน  อาการปวดแน่นหน้าอก  แก้หอบหืด  แกโรคปวดบวมตามข้อและขับลมในกระเพาะอาหาร  เป็นต้น 
ส่วนในภาคตะวันออกกลาง  ชาวอาหรับถือว่ากฤษณาเป็นสิ่งสำคัญในวิถีชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  จากการที่ในทะเลทรายมีไรอาศัยเกาะตามขนละเอียดบนผิวของคน  และเป็นตัวนำเชื้อโรคกลุ่มไมโคพลาสมา  ไรเหล่านี้ไม่แพ้น้ำมันหอมระเหยอื่นๆ  แต่แพ้สารจากกลิ่นน้ำมันหอมกฤษณา  ไม้กฤษณาจึงเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน  โดยนำแก่นกฤษณาหรือไม้สับ  (ไม้ที่มีกฤษณาแทรกอยู่ในเนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน)  มาเผาด้วยถ่านหินในเตาขนาดย่อม   เพื่อให้ควัน  และกลิ่นหอมของกฤษณาติดผิวหนัง  สามารถป้องกันแมลงหรือไรทะเลทรายมากัดจนเกิดแผลพุพองได้  และการนำไม้หอมมาเผาไฟ  ยังช่วยอบห้องให้มีกลิ่นหอมเพื่อช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด  และการสูดดมควันกฤษณาถือว่าเป็นยาบำรุงโรคหัวใจอีกด้วย
          นอกจากนี้ศาสนาอิสลามมีบัญญัติห้ามชาวมุสลิมดื่มสุราและใช้เครื่องสำอาง ประเภทน้ำหอมที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม  แต่ให้ใช้เครื่องสำอางและน้ำหอมที่ผลิตจากสมุนไพรเท่านั้น  จึงทำให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตเครื่องสำอางของชาวมุสลิมในประเทศต่างๆ ทั่วโลก  ก็ต้องการกฤษณาไปผลิตน้ำหอม  แป้งทาหน้า  และเครื่องสำอางประทินผิวอื่นๆ  อีกหลายประเภท  อีกทั้งประเทศแถบทวีปยุโรปที่เป็นประเทศผู้ผลิตน้ำหอมรายใหญ่ของโลกก็ต้อง ใช้น้ำหอมจากไม้กฤษณาเป็นหัวเชื้อผสมน้ำหอม  ถึงแม้กากไม้กฤษณาที่เหลือจากการสกัดหัวน้ำหอมแล้วก็ยังสามารถนำไปสู่กระบวน การผลิตธูปหอมชนิดต่างๆ  ได้  อีกทั้งเนื้อไม้ที่ไม่ได้นำไปกลั่นน้ำหอมก็สามารถนำไปแกะสลักเป็นเครื่อง ประดับและอื่นๆ  ใช้ประโยชน์ได้  เช่น  ลูกประคำ  หีบใส่เครื่องเพชร  รูปสลักนกอินทรีย์  และทำคันธนู  เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Thailand 100% pure Agarwood oil from Chanthaburi

100% pure Agarwood oil from Chanthaburi  Thailand has been distilled in the year 2010 so it is nearly 5 years old.

Only wild agarwood from the jungle the city of Chanthaburi, Eastern of Thailand has been used for distillation so you can be sure that this oil gathers the most wild and exotic notes you can think off.


From the stick you get notes of lime, grapefruit and a touch of white peper. However my skin it opens up with aroma of rich and creamy white chocolate. Then slowly Thai spices start to comes out leaving you with ginger and sweet chili dry down. This is perhaps the most exotic and unusual oud oil that Kitab Al Oud is offering. .. 12ml comes in a plain glass bottle.
Natural Agarwood
 Taurean Earth brand essential body oils and aromatherapy oils are pressed or distilled from natural sources, then blended with high-grade white mineral oil.

Agarwood tree
We do not use or sell any artificial scents, only natural oils. We blend most of our oils in-house from American suppliers, and we're happy to be able to say "Made in America". Our sole international supplier hails from India, we believe in transparency.

 Take the step towards natural living, and allow your skin to blend with the oils to enjoy your sense of smell. We search for aromas that blend well, and that are rich in their perfumes. We strive to stand for good principles of business, and we bring to you our products with the confidence of quality, to enrich your daily life.


When you purchase we products, you are taking the bull by the horns, and getting back to basics when it comes to the marketplace. We are on-line, but we are still people serving people. Based in Pasadena, we take great pride in searching the streets of Los Angeles county for local artisan products, as well as high quality imports from companies that support good business practices.

We carry a large variety of scents, such as Patchouli and Sandalwood, Orange and Lavender, Gardenia, and several types of Jasmine. In other words, please feel free to ask if we carry something you are looking for. We can usually find it, as long as it exists, and we like a good challenge. Myself, and the suppliers that I frequent are small business people, we really appreciate your choosing us.